วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้
ครั้งที่ 6 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561
  เนื้อหาสาระการเรียนรู้
v นำเสนอคำคมทางการบริหาร




v นำเสนอชื่อ












v เรียนเนื้อหาในชีท เรื่อง โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว โดยที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
            1. นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
            2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
            3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
            5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
            6. ปรัชญา นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
            7. ความต้องการของชุมชน
การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย
1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
            1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
            2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
            3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่
2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
            (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2545 กล่าวไว้ใน มาตรา 15กำหนดการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ)
            1.รูปแบบในระบบโรงเรียน
            2.รูปแบบนอกระบบโรงเรียน
            3.รูปแบบตามอัธยาศัย
3. รูปแบบการให้บริการแบบใหม่
            คือ การรวมเด็กที่ผิดปกติและเด็กปกติไว้ด้วยกัน โดยเรียกแบบนี้ว่า “Normalization”
หลักในการบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. การบริหารงานวิชาการ
            เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนผู้เรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด
2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาปฐมวัย
            คือ การปฏิบัติการใช้คนให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขบวนการต่าง ๆ
3. การบริหารงานธุรการและการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
            - งานธุรการในสถานศึกษา
            - งานการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
            - งานสารบรรณในสถานศึกษาปฐมวัย
            - งานทะเบียนและรายงาน
            - งานรักษาความปลอดภัย
            - งานการเงินและพัสดุ
            - งานพัสดุ
4. การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาปฐมวัย 
          คือ การดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยนักเรียนสมัครใจร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง
5. การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
           - การบริหารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
           - การบริหารสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและประสบการณ์
การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคปฏิรูป
ความหมาย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)
            คือ การบริหารโดยกระจายอำนาจทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรงให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากที่สุด
หลักการในการบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)
• หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
            • หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration Involvement)
            • หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ( Return Power to People)
            • หลักการบริหารตนเอง (Self - managing)
            • หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
รูปแบบโรงเรียนที่ใช้การบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน
• ผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก (Administrative Control School Council )
• บริหารโดยครูเป็นหลัก (Professional Control Council)
• การบริหารจัดการโดยชุมชนมีบทบาท (Community Control School Council)
• ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก (Professional Community Control School Council)
สรุปการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ( School-Based Management )
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management)เป็นการถ่ายโอนอำนาจจากหน่วยงานไปให้แก่โรงเรียนได้บริหารแบบเบ็ดเสร็จที่โรงเรียนโดยมอบอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาให้แก่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง    
องค์กรแห่งการเรียนรู้
ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก (Peter M. Senge)
• การใฝ่ใจพัฒนาตน (Personal Mastery)
• รูปแบบของความคิด (Mental Models)
• วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
• การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
• การคิดเชิงระบบ (System Thinking)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
สาระสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
• การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
• การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดการยอมรับในเป้าหมาย
• การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความสำนึกในหน้าที่ความ
รับผิดชอบ
ผลดีของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
• สร้างสรรค์ให้มีการระดมกำลังจากบุคคลต่าง ๆ
• สร้างบรรยากาศและพัฒนาประชาธิปไตยในการทำงาน
• ช่วยให้ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน
• การบริหารแบบมีส่วนร่วม
• ผลงานที่เกิดขึ้น
• สร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
ข้อจำกัดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
• การแสดงความคิดเห็นเกิดข้อขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร
• ก่อให้เกิดกลุ่มอิทธิพล
• ผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ
• การบริหารงานไม่สามารถใช้กับงานที่เร่งด่วนได้
• ใช้งบประมาณมาก
• ความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
• การไม่เข้าใจหน้าที่มักจะทำให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

การนำมาประยุกต์ใช้
            สามารถนำไปใช้กัยรายวิชาอื่นๆที่เกี่ยวกับการบิหารได้และหากในอนาคตเราได้เป็นครูก็สามารถนำความรู้เหล่านี้หรือกลับมาดูความรู้เหล่านี้เพื่อเป้นแนวทางในการทกงานได้ การนำคำคมข้อคิดต่างๆไปปรับใช้ในการทำงาน และการบริหารงานในรูปแบบต่าง การจัดประเภทของโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ
ประเมินผลการเรียนรู้
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนแต่งกายเรียบร้อย เตรียมนำเสนองานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน เวลาไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์ทันทีและจดประเด็นๆสำคัญที่อาจารย์อิบาย เตรียมคำคมมานำเสนอและสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้เมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์แต่งกายสุภาพใช้น้ำเสียงในการสอนได้น่าฟังทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี และมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น